วันพุธที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2555

แบบฝึกหัดสื่อสารมวลชนเพื่อการศึกษา

1.สื่อมวลชนเพื่อการศึกษามีกี่ประเภทอะไรบ้าง
ตอบ  สื่อมวลชนเพื่อการศึกษามีทั้งหมด 6 ประเภท ประกอบด้วย
        1. สิ่งพิมพ์ ได้แก่ หนังสือพิมพ์ วารสาร นิตยสาร หนังสือ และสิ่งตีพิมพ์ประเภทอื่นๆ
        2. ภาพยนตร์ ทั้งภาพยนตร์เรื่อง ภาพยนตร์สารคดี และภาพยนตร์ทางการศึกษาบางประเภท
        3. วิทยุกระจายเสียง ได้แก่วิทยุที่ส่งรายการออกอากาศ ทั้งระบบ AM และ FM รวมไปถึงระบบเสียงตามสาย
        4. วิทยุโทรทัศน์ เป็นสื่อทางภาพและทางเสียงที่เผยแพร่ออกไป ทั้งประเภทออกอากาศและส่งตามสาย
        5. สื่อสารโทรคมนาคม เป็นผลจากความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี มีการส่งข้อความ เสียง ภาพ ตัวพิมพ์ สัญลักษณ์ต่างๆ ได้หลากหลาย ครอบคลุมกิจการสื่อสารผ่านดาวเทียม โทรภาพ โทรพิมพ์
        6. สื่อวัสดุบันทึก ได้แก่เทปบันทึกเสียง เทปบันทึกภาพ แผ่นบันทึกเสียง แผ่นบันทึกภาพ ซึ่งกลายเป็นสื่อมวลชน เพราะเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าทำให้สามารถผลิตเผยแพร่ได้มากและรวดเร็ว


2. คุณค่าของสื่อมวลชนเพื่อการศึกษามีอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ  วิลเบอร์ ชแรมม์ นักวิชาการด้านการสื่อสารมวลชนได้กล่าวถึงบทบาทของสื่อสารมวลชน ที่เกี่ยวกับการศึกษาไว้ว่า สื่อมวลชนเปรียบเสมือนครู ที่ให้การศึกษาแก่ประชาชนทั้งทางตรงและทางอ้อม ให้ทั้งความรู้ทางวิชาการใหม่ๆ และเจตคติในด้านต่างๆ ( Schramm 1964 : 144) ซึ่งถือได้ว่ามีความเป็นจริงอย่างมากในสังคมปัจจุบัน เนื่องจากสื่อมวลชนต่างๆ ได้แสดงบทบาทหน้าที่ทางด้านการศึกษาให้เห็นอย่างเด่นชัด โดยสามารถจำแนกคุณค่าได้ดังนี้
         1. การเพิ่มของประชากร ในระบบโรงเรียน สื่อมวลชนนั้นสามารถกระจายความรู้ข่าวสารไปสู่ผู้ฟังได้เป็นจำนวนมากพร้อมกัน หากสามารถคิดค้นหาวิธีการ ที่จะนำสื่อมวลชนต่างๆ มาใช้ได้อย่างเหมาะสม ย่อมจะช่วยแก้ปัญหานี้ได้
2. แนวคิดการศึกษาตลอดชีวิต แนวคิดทางการศึกษาในปัจจุบัน ถือว่า การศึกษาของคน มิใช่จะเกิดขึ้นเฉพาะผู้ที่อยู่ในวัยศึกษาเล่าเรียนเท่านั้น แต่จะต้องเกิดขึ้นตลอดเวลาที่คนมีชีวิตอยู่ ซึ่งเรียกว่า การศึกษาตลอดชีวิต
3. การขาดแคลนผู้สอนที่เชี่ยวชาญ ในการเรียนการสอน ครูผู้สอนเป็นปัจจัยที่สำคัญ ที่ช่วยให้การสอนประสบผลสำเร็จ การเรียนการสอนสาขาวิชาการต่างๆ ในปัจจุบัน มีหลายสาขาวิชาที่ขาดแคลนผู้สอนที่มีความรู้ความสามารถและเชี่ยวชาญการสอน สื่อมวลชน เปิดโอกาสให้นำรายการสอนจากผู้สอนที่เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ไปสู้ห้องเรียนตลอดจนถึงชุมชนบ้านเรือนได้อย่างกว้างขวาง
4. ขาดแคลนวัสดุอุปกรณ์การสอนวัสดุอุปกรณ์การเรียนการสอนประเภทสื่อโสตทัศนศึกษา และวัสดุอุปกรณ์สำหรับการทดลองปฏิบัติการต่างๆ นับว่าเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นสำหรับการเรียนการสอน ซึ่งในสภาพโดยทั่วไปของโรงเรียนหรือสถานศึกษาต่างๆ ในปัจจุบัน ยังขาดแคลนสิ่งเหล่านี้อยู่มาก
5. การกระจายของประชากร ความจำเป็นในการรับทราบข่าวสาร และการเรียนรู้สิ่งต่างๆ ย่อมจะต้องมีอยู่ทุกหนทุกแห่ง การจัดการศึกษาให้ในรูปแบบอื่นอาจทำได้ยาก แต่หากจัดการศึกษาให้ได้รับทางสื่อสารมวลชนย่อมสามารถทำได้เสมอ
6. การเปลี่ยนแปลงของสังคมและข่าวสาร สถานการณ์ของสังคมและข่าวสารต่างๆ มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอและมีอัตราการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว ซึ่งข่าวสารเหล่านี้จะถูกรายงานให้ประชาชนทราบอยู่ตลอดเวลาโดยสื่อมวลชนต่างๆ การศึกษาทางด้านสังคมจึงสามารถใช้ข้อมูลข่าวสารจากสื่อมวลชนได้โดยตรง
7. ความก้าวหน้าของสื่อมวลชน
ความต้องการรับรู้ข่าวสารของประชาชน ประกอบกับความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี การสื่อสาร และการศึกษาค้นคว้าทางด้านการสื่อสารมวลชน ทำให้สถานภาพการสื่อสารมวลชนปัจจุบันได้รับการพัฒนาขึ้นหลายด้าน เช่น
- ด้านปริมาณ มีสื่อมวลชนเพิ่มจำนวนขึ้นมาก นำเสนอเนื้อหาหลากหลาย ตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างทั่วถึง
- เนื้อหาสาระ หรือรายการที่เป็นประโยชน์ทั้งด้านบันเทิงและด้านการศึกษามีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างมาก
- คุณภาพของสื่อ ได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้นมาก เช่น สิ่งพิมพ์ต่างๆ มีคุณภาพดีขึ้น ตัวหนังสือ ภาพประกอบ สี มีความสวยงาม สื่อความหมายได้ชัดเจน วิทยุโทรทัศน์ ได้รับการปรับให้เสียงและภาพชัดเจนขึ้น
- เทคนิคการนำเสนอ ได้แก่ การจัดรูปแบบสิ่งพิมพ์ รูปแบบของรายการโทรทัศน์ ที่ได้รับการปรับปรุงให้ทัดเทียมกับนานาประเทศ มีรายการแปลกๆ ใหม่ๆ ใช้เทคนิคการตัดต่อภาพหรือเสียง และเทคนิคพิเศษน่าสนใจ และก่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจได้มากขึ้น

3. ให้นิสิตยกตัวอย่างสื่อสารมวลชนเพื่อการศึกษามา 1 รายการ พร้อมอธิบายประโยชน์ของรายการนั้นๆ
ตอบ  รายการ สารคดีมิติโลกหลังเที่ยงคืน ทางช่องทีวีไทย ออกอากาศทุกวันอังคาร-อาทิตย์ เวลา 01.00 น. เป็นต้นไป โดยรายการนี้จะเป็นสารคดีชุดที่จะเล่าถึงเรื่องราวต่างๆที่อยู่รอบโลก ไม่ว่าจะเป็นประวัติศาสตร์ การเอาตัวรอดในภาวะคับขัน การใช้ชีวิต การท่องเที่ยว ฯลฯ โดยรายการนี้จะให้ความรู้แก่ผู้ชมเป็นอย่างมาก ผู้ชมสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ภายในชีวิตประจำวันหรือในสถานการณ์คับขันได้อย่างมาก

แบบฝึกหัดโทรคมนาคมเพื่อการศึกษา

1.โทรคมนาคมหมายถึงอะไรและมีประโยชน์ทางการศึกษาอย่างไรบ้าง
ตอบ  โทรคมนาคม หมายถึง การส่งสารสนเทศในรูปแบบของตัวอักษร ภาพ เสียงโดยใช้กระบวนการที่หลากหลาย เช่น คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า พลังงานไฟฟ้า หรือเคเบิลใยแก้วนำแสง ดาวเทียม เป็นต้น ไปยังผู้รับสารที่ต้องการเรียนรู้หรือการจัดการศึกษาในรูปแบบต่าง ๆ โดยโทรคมนาคมนี้มีประโยชน์ต่อการศึกษาหลายทางทั้ง การแพร่กระจายสัญญาณภาพผ่านดาวเทียมเพื่อผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษาที่อยู่ห่างไกลหรือไม่สามารถเรียนรู้ได้ในเวลาปกติหรือที่เราเรียกกันว่า " การเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม " เป็นต้น


2. การใช้ Facebook เป็นโทรคมนาคมเพื่อการศึกษาหรือไม่ ถ้าเป็นจงยกตัวอย่างประโยชน์ของ Facebook
ตอบ  เป็น เพราะในยุคปัจจุบันเป็นยุคการติดต่อสื่อสารไร้พรหมแดน Facebook ก็เป็นอีกหนึ่งช่องทางที่เราจะสามารถใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาได้ โดยวิธีที่ว่านั้นคือการติดต่อหรือแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน จนกลายเป็นกลุ่มสังคมที่จะสามารถให้ความรู้และนำความรู้ใหม่ๆมาเผยแพร่ อีกทั้งยังช่วยให้เราได้รับรู้สิ่งที่เราไม่เคยเห็น ไม่เคยรู้ โดยที่เราไม่จำเป็นจะต้องเดินทางไปแสวงหาความรู้นั้นๆด้วยตนเอง


3.นิสิตสามารถรับชมโทรทัศน์ทางไกลผ่านดาวเทียมได้ด้วยวิธีทางใดบ้าง
ตอบ  ระบบ DSTV เป็นระบบโทรทัศน์ผ่านจานรับสัญญาณดาวเทียม ในย่านความถี่ KU-Band ที่เป็นระบบเดียวกับ ทรูวิชั่นส์ ซึ่งสามารถซื้อ ชุดรับสัญญาณดาวเทียม กับตัวแทนจำหน่ายของ ทรูวิชั่นส์ ได้ทั่วไป โดยไม่เสียค่าบริการรายเดือน โดยมีราคาประมาณชุดละ 12,000 บาท หรือหากมีเครื่องรับสัญญาณดาวเทียม ที่สามารถรับย่าน KU-Band ได้ ก็สามารถรับชมได้ เพราะระบบออกอากาศของสถานีฯ มิได้มีการเข้ารหัสไว้ จึงไม่ต้องใช้ Smart Card ในการรับชมรายการ            
         ระบบ CATV เป็นระบบโทรทัศน์ผ่านสายเคเบิล ซี่งสามารถรับชมได้ ในเขตกรุงเทพมหานคร และจังหวัดปริมณฑล แต่สามารถรับชมรายการได้เพียง 7 ช่อง และต้องเสียค่าบริการรายเดือน กับบริษัทเคเบิลทีวีที่ให้บริการ สามารถใช้ประโยชน์จากการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม โดยวิธีการศึกษาผ่านระบบอินเทอร์เน็ตได้อีกทางหนึ่ง โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในด้านเนื้อหาวิชา (Free-of-charge Web-based Information Content) ทั้งในระบบรายการถ่ายทอดสด (Live Broadcast) และระบบรายการตามคำสั่ง (On Demand) ทางเว็บไซต์ของ มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม และ สถานีวิทยุโทรทัศน์การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม


4.ประโยชน์ของโทรทัศน์ทางไกลผ่านดาวเทียมมีอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ เนื่องจากการศึกษาในปัจจุบันนั้น ยังมีความเหลื่มล้ำทางโอกาสและระยะทาง จึงทำให้หลายคนด้อยโอกาสทางการศึกษา อาทิเช่น พื้นที่ในชนบทที่ขาดแคลนครูหรือโรงเรียน บางที่นักเรียนหรือผู้ต้องการศึกษาหาความรู้จำเป็นจะต้องเดินทางไปไกลหลายๆกิโลเมตรเพื่อไปเรียนหรือหาความรู้หรือคนที่ขาดเวลาที่จะสามารถเดินทางไปเรียนได้ตามเวลา เนื่องจากเหตุผลนานาประการ เป็นต้น ด้วยเหตุนี้โทรทัศน์ทางไกลผ่านดาวเทียมจึงช่วยลดความเหลื่อมล้ำนี้ลง เพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้กับผู้ขาดโอกาสและผู้ที่ไม่มีเวลาพอสำหรับการเรียนรู้ที่แน่นอน เพราะโทรทัศน์ทางไกลผ่านดาวเทียมจะช่วยให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงความรู้ต่างๆได้ โดยไม่จำเป้นต้องเดินทางไปเรียนด้วยตนเองและสามารถเรียนรู้ได้ตลอดเวลา


5.นิสิตรับชมรายการจาก http://www.youtube.com/watch?v=OvUsY7oTEQcและจงอธิบายถึงประวัติความเป็นมาของสถานีโทรทัศน์ทางไกลผ่านดาวเทียมไทยคม 
ตอบ  สถานีวิทยุโทรทัศน์การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม หรือ Distance learning Television (DLTV) เกิดขึ้นเพื่อสนองพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่อยากให้เด็กไทยได้รับความรู้อย่างทั่วถึง ทุกภูมิภาค ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2538 เพื่อเฉลิมพระเกียรติในมหามงคลวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ทรงครองสิริราชสมบัติครบรอบ 50 ปี โดยจัดการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม  ถ่ายทอดสดหลักสูตรประถมศึกษา มัธยมศึกษา และสายวิชาชีพให้แก่โรงเรียนในสังกัดกรมสามัญศึกษา


6.ให้นิสิต Post รูปภาพเกี่ยวกับโทรคมนาคมเพื่อการศึกษาลงใน Weblog