วันพุธที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ศึกษานอกสถานที่ ณ สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา



    สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพาหรือที่คนหลายคนอาจจะเรียกจนติดปากว่า " พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ " จัดตั้งอยู่ภายในมหาวิทยาลัยบูรพา โดยหลายคนอาจจะรู้จักมหาวิทยาลัยบูรพาก็เพราะพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ โดยสถาบันทางวิทยาศาสตร์ทางทะเลที่เราพูดถึงกันนี้ มีความสำคัญทั้งสำหรับการเรียนรู้ การพักผ่อนหย่อนใจและการท่องเที่ยวของจังหวัดชลบุรีอีกด้วย โดยภายในสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งนี้ได้มีการจัดแสดงอะไรหลายๆอย่างมากมายทั้ง โดยส่วนใหญ่แล้วนั้นคงจะหนีไม่พ้น "สัตว์น้ำ"อย่างแน่นอน โดยสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลได้แบ่งส่วนจัดแสดงต่างๆออกเป็น 2 ชั้น โดยภายในแต่ละชั้นประกอบด้วยการจัดแสดงดังนี้







ชั้นที่ 1 ส่วนจัดแสดงสัตว์น้ำที่มีชีวิต

    ในส่วนการจัดแสดงภายในชั้นที่ 1 นี้จะเป็นการจัดแสดงเกี่ยวกับสัตว์น้ำบางชนิดที่มีอยู่ภายในประเทศโดยจะมีทั้งสัตว์น้ำที่ยังมีชีวิตและป้ายนิเทศน์สำหรับสัตว์บางชนิดที่ไม่สามารถนำมาจัดแสดงได้ ในส่วนของสัตว์น้ำที่ยังมีชีวิตอยู่นั้น ทางสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลได้พยายามจัดสถานที่ในการเลี้ยงดูให้ใกล้เคียงกับธรรมชาติมากที่สุด โดยจะเลี้ยงในระบบหมุนเวียนแบบปิดและมีระบบการให้อาหาร เพื่อให้สัตว์เหล่านี้ดำรงชีวิตอยู่ได้และในส่วนนี้จะประกอบไปด้วย ปลาเศรษฐกิจ สัตว์น้ำเค็มที่ไม่มีกระดูกสันหลัง  สัตว์ที่อาศัยอยู่ในเขตนำขึ้น-น้ำลง การอยู่ร่วมกันของสัตว์น้ำ ปลาในแนวปะการัง ปลารูปร่างแปลก ปลาที่มีพิษตลอดจนปลาที่อาศัยอยู่ในมหาสมุทร โดยจะจัดแสดงแยกกันออกเป็นส่วนๆตามประเภท



            




                                                      



























ชั้นที่ 2 ส่วนจัดแสดงนิทรรศการต่างๆ

    ในชั้นที่ 2 ของสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลนี้ จะเป็นส่วนสำหรับจัดการแสดงนิทรรศการที่จะให้ความรู้เกี่ยวกับระบบนิเวศทางทะเล การใช้ชีวิตของมนุษย์ร่วมกับทะเล ห่วงโซ่อาหารของสัตว์น้ำที่ดำรงชีวิตอยู่ในทะเล โดยนิทรรศการในส่วนนี้จะให้ความรู้ว่า ระบบนิเวศนั้นมีอะไรบ้าง อาทิเช่น ระบบนิเวศป่าชายเลน ระบบนิเวศหาดหิน ระบบนิเวศหาดทรายและหาดโคลน ระบบนิเวศแนวปะการัง เป็นต้น โดยจะอธิบายว่าระบบนิเวศเหล่านี้มีลักษณะอย่างไร มีสัตว์น้ำชนิดใดบ้างอาศัยอยู่ในระบบนิเวศนั้นๆ ส่วนการจัดแสดงนิทรรศการอื่นๆนั้น จะประกอบไปด้วย นิทรรศการอาณาจักรสัตว์ทะเล ซึ่งจะทำให้เราได้รับความรู้เกี่ยวกับสัตว์ที่อาศัยอยู่ในทะเลโดยผ่านแผนภาพต้นไม้ ที่จะแบ่งแยกสัตว์น้ำออกเป็นประเภท ทั้งสัตว์หรือสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในทะเล เช่น แพลงตอน สิ่งมีชีวิตที่เปรียบเสมือนแหล่งอาหารที่ขับเคลื่อนทำให้สัตว์น้ำในทะเลมีชีวิตและดำรงอยู่ได้ สัตว์ที่โพรงลำตัว เช่น ปะการัง กัลปังหา แมงกระพรุน ดอกไม้ทะเล สิ่งมีชีวิตเหล่านี้ก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่ทำให้ทะเลยังมีชีวิตอยู่จนถึงปัจจุบันได้ เพราะเป็นทั้งที่อยู่ หลบซ่อนและแหล่งอาหารแก่สัตว์ทะเลได้ สัตว์ทะเลจำพวกหอย สัตว์จำพวกหนอนในทะเล สัตว์ที่มีข้อปล้อง สัตว์จำพวกคอร์เดทในทะเล และ สัตว์น้ำเค็มที่มีกระดูกสันหลัง โดยในประเภทหลังนั้น ก็คือสัตว์ที่เราะพอจะรู้จักกันมากที่สุด เพราะสัตว์จำพวกนี้ก็คือ พวกปลาทะเลต่างๆนั่นเอง





    นิทรรศการความสำคัญของทะเลที่มีคุณค่าต่อมนุษย์ ในส่วนของนิทรรศการนี้นั้น จะแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของทะเลที่สร้างประโยชน์ให้กับมนุษย์ โดยประโยชน์ที่มนุย์ได้รับจากทะเลนั้นมีมากมายหลายสถาน ทั้งเป็นแหล่งหาอาหารเพื่อดำรงชีวิต ทั้งเป็นแหล่งท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ อีกทั้งนิทรรศการส่วนนี้ยังแสดงให้เห็นการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันระหว่างมนุษย์และทะเล โดยจะแสดงให้เห็นว่า ตามบริเวณชายฝั่งนั้น มนุษย์ได้มีการประยุกต์หรือค้นหาวิธีการต่างๆเพื่ออยู่ร่วมกันกับทะเล ทั้งการหาอาหาร การสร้างที่พักอาศัย ตลอดจนการศึกษาเรื่องราวต่างๆเกี่ยวกับทะเล















         หลังจากการที่ได้ทำการไปศึกษานอกสถานที่ ณ สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล สามารถแบ่งสื่อตามประสบการณ์การเรียนรู้ ของสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลได้ดังนี้ คือ
         นำหลักการสื่อสารโดยประสบการณ์การเรียนรู้ของ Edgar Dale นำมาใช้ประกอบเพื่อให้ผู้ที่มาเยี่ยมชมได้รับอรรถรสในการรับชมอย่างเต็มที่ คือ มีการใช้สื่อต่างๆมาประกอบเพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจนซึ่งประกอบด้วย
  1. ประสบการณ์ตรงและมีความมุ่งหมาย สาระที่นำเสนอคือ อุโมงค์ขนาดใหญ่ที่ได้รวมพันธุ์ปลาชนิดต่างๆที่อาศัยอยู่ใต้ทะเล ไม่ว่าจะเป็นทะเลน้ำลึกและน้ำตื้น ให้เราได้เห็นกันอย่างใกล้ชิดและชัดเจน ตัวอย่างเช่น ปลา ปลิง กุ้ง หอย ปะการัง เป็นต้น
  2. ประสบการณ์จำลอง สาระที่นำเสนอคือ การจำลองโลกใต้ทะเลมาเป็นอุโมงค์ให้ศึกษา  การจำลองอุปกรณ์ที่ใช้ในด้านการประมงในสมัยก่อน เป็นต้น
  3. การศึกษานอกสถานที่ สาระที่นำเสนอคือ การศึกษาหาความรู้จากสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา เกี่ยวกับสัตว์โลกใต้ทะเล
  4. นิทรรศการ สาระที่นำเสนอคือ การจัดป้ายนิทรรศการกำเนิดมอลลัสก์ ซึ่งเป็นหอยชนิดต่างๆป้ายนิเทศพ่อผู้ให้กำเนิด ซึ่งก็คือม้าน้ำนั่นเอง และยังมีป้ายนิทรรศการอื่นๆอีก
  5. โทรทัศน์ศึกษา สาระที่นำเสนอคือ การ์ตูนเกี่ยวกับดินแดนมอลลัสก์
  6. ทัศนสัญลักษณ์ สาระที่นำเสนอคือ แผนผังหรือแผนที่สถานเลี้ยงสัตว์น้ำเค็ม แผนภูมิแบบต้นไม้ที่แสดงอาณาจักรของสิ่งมีชิวิตใน ทะเล การ์ตูน Animation เกี่ยวกับมอลลัสก์ เป็นต้น
  7. วจนสัญลักษณ์ สาระที่นำเสนอคือ ข้อความต่างๆที่บอกรายละเอียด เนื้อหา สาระสำคัญ เช่น ชนิดหรือประเภทของสัตว์ที่อยู่ใต้ทะเล เป็นต้น
       โดยการศึกษานอกสถานที่ในครั้งนี้พอจะสรุป สื่อกราฟฟิกที่สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลใช้ในการสื่อสารและให้ความรู้ออกเป็นดังนี้
  1. แผนภูมิ เช่น แผนภูมิแสดงอาณาจักรสัตว์ใต้ทะเล แผนภูมิแสดงวิวัฒนาการของสัตว์ และแผนผังแสดงสถานเลี้ยงสัตว์น้ำเค็ม เป็นต้น
  2. หุ่นจำลอง เช่น แบบจำลองการทำประมงโดยใช้เครื่องมือประมงทะเล ยกตัวอย่างเช่น โป๊ะ และเรือประมงทะเลชนิดต่างๆ ตัวอย่างเช่น สัตว์สต๊าฟ เป็นต้นง
  3. ของจริง เช่น การได้ดูหรือพบเห็นสัตว์ต่างๆที่อยู่ในตู้ปลา ทั้งปลา ปะการัง และสัตว์อื่นๆ
  4. ป้ายนิเทศ เช่น ข้อความที่บอกประเภทหรือชนิดของสัตว์น้ำใต้ทะเล และป้ายนิเทศแสดงการเกิดของมอลลัสก์ เป็นต้น
  5. ตู้อันตรทัศน์ เช่น ฉากแสดงพื้นที่สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล ฉากแสดงเปลือกหอยและหอยประเภทต่างๆ เป็นต้น

ภาพบรรยากาศและกิจกรรม
















วันพฤหัสบดีที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

การอบรมและสื่อต่าง ณ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา วันที่ 5 กรกฎาคม 2555

 วิทยากร ได้ให้ความรู้ เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีทางการศึกษาที่มีอยู่ภายในสำนักหอสมุด เช่น ระบบสืบค้นวัสดุสารสนเทศ (Web OPAC) การสืบค้นข้อมูลโดยการใช้ฐานข้อมูล EBSCO การสืบค้นฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ วิจัย บทความต่างๆ จากมหาวิทยาลัยทั่วประเทศโดยใช้ระบบ ThaiLIS TDC เป็นต้น อีกทั้งวิทยากรยังพาชมหน่วยงานและส่วนต่างๆของสำนักหอสมุด โดยการอบรมครั้งนี้ทำให้ได้รับความรู้ในการใช้ห้องสมุด การค้นหาหนังสือ จองหนังสือล่วงหน้าและอื่นๆอีกมากมาย





บรรยากาศการอบรม





ศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเองและลงมือปฏิบัติ







บรรยากาศระหว่างการอบรม(อีกมุมหนึ่ง)







มอบของเล็กๆน้อยเพื่อเป็นการตอบแทนวิทยากร






แต่ละคนดูท่าจะตั้งใจฟังกันมาก 





สภาพบรรยากาศที่ชั้น 2







ก่อนเสร็จสิ้นการอบรม ชักภาพเป็นที่ระลึก



ที่สำนักหอสมุด มีบริการสารสนเทศในรูปเเบบต่างมากมาย อาทิ เช่น หนังสือทั้งภาษาไทยเเละภาษาต่างประเทศ วิทยานิพนธ์ ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ วารสารอิเล็กทรอนิกส์ หนังสืออ้างอิง สื่อโสตทัศน์ ชุดศึกษา VCD DVD ต่างๆ เทปเสียง รายการโทรทัศน์ผ่านดามเทียม บริการอินเทอร์เน็ต เป็นต้น
               นอกจากนี้ ยังมีบริการอื่นๆ อีก ได้่เเก่ การนำชมหอสมุด การฝึกอบรมการใช้งานเทคโนโลยีต่างๆ Book Showroom มุมคุณธรรม  บริการห้องศึกษากลุ่ม-เดี่ยว ห้องมินิโฮมเธียเตอร์ ตลอดจนสถานที่สำหรับใช้ในการศึกษาหาความรู้หรือพักผ่อน ตลอดจนสถานที่เพื่อการติวหนังสือหรือทบทวนบทเรียนต่างๆ ซึ่งที่ชั้น 1 จะเปิดให้บริการสำหรับนิสิตนักศึกษา ตลอด 24 ชั่วโมง



                                        ชั้นที่ 1 เปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง




                                          ชั้นที่ 2 สำหรับสมัครสมาชิก ยืม-คืนหนังสือ Book Show Room ฯ    




                                                    

















        ชั้นที่ 3,4,5,6,7 จะประกอบด้วย หนังสือทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ นวนิยาย เรื่องสั้น วารสาร หนังสือพิมพ์ วิทยานิพนธ์ หนังสืออ้างอิง หนังสือหายาก SET Corner มุมคุณธรรม ห้องศึกษากลุ่ม-เดี่ยว ชุดศึกษาวิดีทัศน์ วีซีดี ซีดีรอม-มัลติมีเดีย ศูนย์บริการอินเทอร์เน็ต ส่วนสำหรับการสืบค้นวารสารอิเล็กทรอนิกส์ ห้องมินิโฮมเธียเตอร์ หนังสือในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ หนังสือราชกิจจานุเบกษา