วันเสาร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2555

การบ้านวันที่ 18-24 มิ.ย. 2555


แบบฝึกหัดประจำวันที่ 18-24 มิถุนายน 2555
1. ประเภทของสื่อเทคโนโลยีการศึกษาที่แบ่งตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ได้กี่ประเภทอะไรบ้าง
ตอบ        พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ ได้ระบุไว้ในหมวด ๙ ประกอบด้วย ๔ ส่วนคือ
๑. สื่อโสตทัศน์
๒. สื่อมวลชน
๓. สื่ออิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม รวมคอมพิวเตอร์
๔. สื่อที่เป็นแหล่งวิทยาการ เช่น หอสมุด ห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ เป็นต้น

2. ประเภทของสื่อเทคโนโลยีการศึกษาที่แบ่งตามลักษณะทั่วไปได้กี่ประเภท อะไรบ้าง จงหาภาพมาประกอบ
ตอบ       ประเภทสื่อเทคโนโลยีการศึกษาแบ่งตามลักษณะทั่วไปแบ่งได้เป็น 3 ประเภท ประกอบด้วย
               1. สื่อสิ่งพิมพ์ หมายถึง หนังสือและเอกสารสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ที่แสดงหรือเรียบเรียงสาระความรู้ต่าง ๆ โดยใช้ตัว หนังสือที่เป็นตัวเขียนหรือตัวพิมพ์เป็นสื่อในการแสดงความหมาย สื่อสิ่งพิมพ์มีหลายชนิด ได้แก่ เอกสาร หนังสือเรียน หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสาร บันทึก รายงาน ฯลฯ












2. สื่อเทคโนโลยี หมายถึง สื่อการเรียนรู้ที่ผลิตขึ้นใช้ควบคู่กับเครื่องมือโสตทัศนวัสดุ หรือเครื่องมือที่เป็น เทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น แถบบันทึกภาพพร้อมเสียง (วิดีทัศน์) แถบบันทึกเสียง ภาพนิ่ง สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน นอกจากนี้สื่อเทคโนโลยี ยังหมายรวมถึงกระบวนการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ใน กระบวนการเรียนรู้ เช่น การใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียนรู้ การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม เป็นต้น







3. สื่ออื่น ๆ นอกเหนือจากสื่อ 2 ประเภทที่กล่าวไปแล้ว ยังมีสื่ออื่น ๆ ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน ซึ่งมี ความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อเทคโนโลยี สื่อที่กล่าวนี้ ได้แก่




3.1 บุคคล หมายถึง บุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญในสาขาต่าง ๆ ซึ่งสามารถถ่ายทอด สาระความรู้ แนวคิดและประสบการณ์ไปสู่บุคคลอื่น เช่น บุคลากรในท้องถิ่น แพทย์ ตำรวจ นักธุรกิจ เป็นต้น






3.2 ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หมายถึง สิ่งมีอยู่ตามธรรมชาติและสภาพแวดล้อมตัวผู้เรียน เช่น พืชผักผลไม้ ปรากฏการณ์ ห้องปฏิบัติการ เป็นต้น









3.3 กิจกรรม / กระบวนการ หมายถึง กิจกรรม หรือกระบวนการที่ผู้สอนและผู้เรียนกำหนดขึ้นเพื่อสร้างเสริม ประสบการณ์การเรียนรู้ ใช้ในการฝึกทักษะซึ่งต้องใช้กระบวนการคิด การปฏิบัติ การเผชิญสถานการณ์และ การประยุกต์ความรู้ของผู้เรียน เช่น บทบาทสมมติ การสาธิต การจัดนิทรรศการ การทำโครงงาน เกม เพลง เป็นต้น







3.4 วัสดุ เครื่องมือและอุปกรณ์ หมายถึง วัสดุที่ประดิษฐ์ขึ้นใช้เพื่อประกอบการเรียนรู้ เช่น หุ่นจำลอง แผนภูมิ แผนที่ ตาราง สถิติ รวมถึงสื่อประเภทเครื่องมือและอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ในการปฏิบัติงานต่าง ๆ เช่น อุปกรณ์ทดลองวิทยาศาสตร์ เครื่องมือช่าง เป็นต้น





3. ประเภทของเทคโนโลยีการศึกษาที่แบ่งตามประสบการณ์ เป็นของนักการศึกษาท่านใด และมีการจัดประสบการณ์จากนามธรรมไปสู่รูปธรรมโดยเริ่มต้นจากประสบการณ์ใดไปประสบการณ์ใดจงอธิบาย

ตอบ     เป็นของเอดการ์ เดล (Edgar Dale) โดย จัดแบ่งสื่อการสอนเพื่อเป็นแนวทางในการอธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างโสตทัศนูปกรณ์ และแสดงเป็นขั้นตอนของประสบการณ์การเรียนรู้และการใช้สื่อ นำมาสร้างเป็น กรวประสบการณ์” (Cone of Experience ) แบ่งเป็นขั้นตอนดังนี้
1. ประสบการณ์ตรง ซึ่งเป็นขั้นที่เป็นรูปธรรมมากที่สุด เพราะผู้เรียนได้รับประสบการณ์จากของจริง สถานที่จริง
2. ประสบการณ์รอง ผู้เรียนเรียนจากสิ่งที่ใกล้เคียงกับความจริงที่สุด
3.ประสบการณ์นาฏกรรมหรือการแสดง เป็นการแสดงบทบาทสมมติ หรือการแสดงละคร
4. การสาธิต เป็นการแสดงหรือกระทำประกอบคำอธิบาย
5. การศึกษานอกสถานที่ ให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ภายนอกที่เรียน
6. นิทรรศการ เป็นการจัดแสดงสิ่งของต่างๆ การจัดป้ายนิเทศ
7.โทรทัศน์ ใช่ส่งได้ทั้งระบบวงจรเปิดหรือวงจรปิด การสอนจะเป็นการสอนสดหรือบันทึกลงบนวีดิทัศน์
8. ภาพยนตร์ เป็นภาพที่บันทึกเรื่องราวเหตุการณ์ลงบนฟิล์ม
9. การบันทึกเสียง วิทยุ ภาพนิ่ง เป็นการฟังหรือดูภาพโดยไม่ต้องอ่าน
10. ทัศนสัญลักษณ์ เช่น แผนภูมิ แผนที่ แผนสถิติ
11. วจนสัญลักษณ์ ซึ่งเป็นขั้นนามธรรมมากที่สุด ได้แก่ ตัวหนังสือ เสียงพูด



4. การสื่อสารหมายถึงอะไร
ตอบ       การสื่อสาร (communications)  มีที่มาจากรากศัพท์ภาษาลาตินว่า  communis หมายถึง  ความเหมือนกันหรือร่วมกัน   การสื่อสาร (communication)    จึงหมายถึงกระบวนการถ่ายทอดข่าวสาร  ข้อมูล ความรู้ ประสบการณ์  ความรู้สึก ความคิดเห็น ความต้องการจากผู้ส่งสารโดยผ่านสื่อต่าง ๆ ที่อาจเป็นการพูด การเขียน สัญลักษณ์อื่นใด การแสดงหรือการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ไปยังผู้รับสาร ซึ่งอาจจะใช้กระบวนการสื่อสารที่แตกต่างกันไปตามความเหมาะสม หรือความจำเป็นของตนเองและคู่สื่อสาร  โดยมีวัตถุประสงค์ให้เกิดการรับรู้ร่วมกันและมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อกัน  บริบททางการสื่อสารที่เหมาะสมเป็น ปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้การสื่อสารสัมฤทธิ์ผล








5. สื่อและเทคโนโลยีการศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของการสื่อสารในองค์ประกอบใด จงอธิบาย
ตอบ       สื่อและเทคโนโลยีทางการศึกษา จัดอยู่ในองค์ประกอบที่เรียกว่า “สื่อหรือช่องทาง” (Media or Channel)
เพราะสื่อหรือช่องทาง หมายถึง  สิ่งที่เป็นพาหนะของสาร  ทำหน้าที่นำสารจากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสาร   ผู้ส่งสารต้องอาศัยสื่อหรือช่องทางทำหน้าที่นำสารไปสู่ผู้รับสาร  ด้วยความหมายข้างต้นจึงจัดว่า สื่อและเทคโนโลยีทางการศึกษา อยู่ในองค์ประกอบสื่อและช่องทาง (Media or Channel





6. จงเขียนแบบจำลองของการสื่อสารของเดวิดเบอร์โล มาพอเข้าใจ

ตอบ 
           


7. อุปสรรคของการสื่อสารมีอะไรบ้าง
ตอบ     อุปสรรคของการสื่อสารที่เกิดขึ้นมีหลายลักษณะ  อาจซับซ้อนผิดแผกกันไป  ดังนี้
                ๑. ผู้ส่งสาร   ถ้าผู้ส่งสารขาดพื้นความรู้และประสบการณ์ในเรื่องที่จะสื่อสาร  แต่จำต้องพูดหรือเขียนออกไป  ก็จะทำให้การสื่อสารนั้นกระท่อนกระแท่น  ไม่มีแก่นสาร  เช่น  ถ้าจะบอกกล่าวหรือชี้ชวนก็ไม่มีจุดหมายชัดเจนว่าจะบอกกล่าวอะไร  หรือชี้ชวนเรื่องอะไร  แม้เพียงจะตั้งคำถามก็ไม่รู้ว่าจะตั้งอะไร  ถึงจะตั้งไปก็มักจะไม่เข้าประเด็น  เป็นที่น่ารำคาญแก่ผู้ถูกถาม ถ้าผู้ส่งสารขาดความสนใจในเนื้อเรื่อง  หรือในประเด็นของเรื่องที่สื่อสาร  และขาดความสนใจในตัวผู้รับสาร   สารที่ส่งออกไปก็จะไม่น่าสนใจ  และไม่สู้จะมีความหมายแก่ผู้รับสารนัก   
        ๒. สาร   อาจเป็นอุปสรรคในการสื่อสารได้  ถ้าซับซ้อนเกินไป  หรือลึกซึ้งจนเกินกำลังสติปัญญาของผู้รับสาร  หรือห่างไกลจากประสบการณ์ของผู้รับสารมากเกินไปหรือมีความขัดแย้งกันในตัวสารนั้นเอง  ผู้รับสารก็จะเกิดความสับสน  ในที่สุดก็ล้มเลิกความตั้งใจที่จะรับสาร  นอกจากนี้ถ้าตัวสารมีเนื้อความที่ผู้รับได้ยินบ่อยๆ ซ้ำๆ ผู้ส่งสารพูดประโยคเยิ่นเย้อหรือเนื้อความแปลกใหม่เกินความนึกคิดของผู้รับสาร  สารนั้นเองก็จะกลายเป็นอุปสรรคของการสื่อสาร  เพราะผู้รับสารไม่สนใจหรืองุนงงสงสัยในความแปลกใหม่ดังกล่าว
        ๓. ภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร  ภาษาที่ใช้ในการสื่อสารนั้น  ถ้าผู้รับสารไม่สามารถเข้าใจได้หรือเข้าใจเพียงเลือนราง  หรือเป็นภาษาที่ผิดระดับหรือเป็นสำนวนภาษาที่ไม่ตรงตามเนื้อหาของเรื่องราวที่จะส่งสาร  ภาษที่ใช้นั้นก็จะกลายเป็นอุปสรรคในการสื่อสารได้มาก
        ๔. ผู้รับสาร  ในทำนองเดียวกันกับผู้ส่งสาร ถ้าผู้รับสารขาดพื้นฐานความรู้และประสบการณ์ที่จำเป็นเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านหรือฟัง  ย่อมไม่สามารถเข้าใจสารที่ส่งมาได้  หรือหากจะเข้าใจก็เข้าใจเพียงครึ่งๆ กลางๆ เท่านั้น  ไม่สามารถรับสารโดยสมบูรณ์ได้  ยิ่งถ้าผู้รับสารอยู่ในฐานะที่จะเป็นผู้ตอบคำถาม  แต่ขาดความรู้หรือประสบการณ์  ย่อมตอบไม่ได้เอาเลย  การสื่อสารจึงเกือบจะเกิดขึ้นไม่ได้ การขาดความสนใจและการมีความรู้สึกไม่ดีของผู้รับสาร  ก็จะเป็นอุปสรรคสำคัญแก่การรับสารเช่นเดียวกัน  ความจริงข้อนี้ย่อมเห็นได้ชัดเจนอยู่แล้ว  เพราะถ้าไม่สนใจและมีความรู้สึกที่ไม่ดี  ย่อมไม่มีความพร้อมจะรับสาร  
         ๕. สื่อ   ถ้าสื่อในการนำสารขัดข้อง  เช่น  พูดกันในสถานที่ที่มีเสียงอื้ออึงรบกวน  พูดผ่านเครื่องขยายเสียงที่ปรับไม่พอเหมาะ  พูดผ่านเครื่องโทรศัพท์ที่มีความขัดข้องทางเทคนิคหรือเขียนตัวหนังสือหวัดมาก  ใช้ตัวพิมพ์ที่เลอะเลือนก็ย่อมทำให้ผู้รับสารได้ไม่สะดวกหรืออาจรับไม่ได้เลย ทั้งๆที่ผู้ส่งสารได้เตรียมสารไว้เป็นอย่างดีและผู้รับสารก็พร้อมที่จะรับสาร
          ๖. กาลเทศะและสภาวะแวดล้อม   เวลา  สถานที่  และสภาพแวดล้อม  ที่เหมาะสมย่อมให้เกิดการสื่อสารที่ดี  ตรงกันข้ามเวลา  สถานที่  และสภาพแวดล้อม  ที่ไม่เหมาะสมก็อาจเป็นอุปสรรคแก่การสื่อสาร การสื่อสารในชีวิตและในสังคมนั้นในหลานกรณีหลายโอกาส  เรื่องที่สื่อสารมีความสลับซับซ้อน  มีบุคคลจำนวนมากเข้ามาเกี่ยวข้อง  และอาศัยสื่อนานาชนิด  โอกาสที่จะเกิดอุปสรรคในการสื่อสารก็ยิ่งมีมากขึ้น  ไม่สามารถขจัดออกไปอย่างสิ้นเชิงได้


8. บทเรียน e-Learning เป็นส่วนใดขององค์ประกอบของการสื่อสาร
ตอบ     จัดอยู่ในองค์ประกอบที่เรียกว่า “สื่อหรือช่องทาง” (Media or Channel) เพราะ E-Learning เป็นตัวกลางระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร ทำให้หน้าที่เชื่อมผู้ส่งสารและผู้รับสาร


9. ครูบอยกำลังสอนเนื้อหาวิชาภาษาอังกฤษเรื่อง Grammar ด้วยวีดิทัศน์กับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 จากข้อความดังกล่าวให้นิสิตเขียนแบบจำลองการสื่อสารของเดวิดเบอร์โล


ตอบ 

ผู้ส่งสาร(source)

- ครูบอย
 

สาร(Message)

- ความรู้เกี่ยวกับ Grammar
 

สื่อและช่องทาง(Channel)
- วิดีทัศน์
 

ผู้รับสาร(Receiver)

- นักเรียนชั้น   มัธยมศึกษาปีที่ 1
 












10. การปฐมนิเทศนิสิตใหม่ ณ หอประชุมธำรงบัวศรี เป็นการสื่อสารประเภทใด
ตอบ     การปฐมนิเทศนิสิตใหม่จัดเป็นการสื่อสารกลุ่มใหญ่ (large group communication)

วันอาทิตย์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2555

อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการศึกษา


อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการศึกษา



Apple Ipad

    สาเหตุที่ Ipad เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีทางการศึกษาเพราะ การติดต่อสื่อสารในโลกปัจจุบันสามารถติดต่อกันได้หลายทางทั้งทางโทรศัพท์ Social network ฯลฯ ซึ่งการติดต่อทาง Social Network จำเป็นต้องพึ่งพา Internet และอุปกรณ์ทางเทคโนโลยี โดย Ipad สามารถตอบสนองความต้องการการใช้ Internet ได้อย่างสมบูรณ์ ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อสื่อสารทาง Social Network การสืบค้นหาข้อมูลหรือการเรียนการสอนผ่านทาง video call,web หรือ E-Learning ได้ สามารถใช้ในการเรียนรู้และปฏิบัติการทางการศึกษาได้ทุกสถานที่ ที่เอื้ออำนวยต่อการใช้งาน อีกทั้งสามารถพกพาได้สะดวกตอบสนองการปฏิบัติการเรียนการสอนภายนอกห้องเรียนได้อย่างสมบูรณ์แบบ

ความคาดหวังต่อการเรียนรายวิชาเทคโนโลยีการศึกษา

ความคาดหวังต่อการเรียนรายวิชา 400202 เทคโนโลยีการศึกษา



       ความคาดหวังในการเรียน รายวิชา 400202 เทคโนโลยีทางการศึกษา คือ สามารถนำความรู้และหลักการไปประยุกต์ใช้ในการวางแผนการเรียนการสอนโดยใช้สื่อทางเทคโนโลยีเข้ามาเป็นตัวช่วยในการเชื่อมระหว่างบทเรียนและผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งช่วยให้ผู้เรียนรายวิชาได้ฝึกฝนและพัฒนาศักยภาพในด้านการใช้เทคโนโลยี การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอนในอนาคต ซึ่งในอนาคตอันใกล้ การศึกษาจะต้องควบคู่ไปกับเทคโนโลยีเพื่อตอบรับกับการเข้าสู่สภาวะโลกในอนาคตที่จะพัฒนาเข้าสู่สังคมเทคโนโลยีที่การเรียนการสอนจะไม่ได้จำกัดเพียงแค่การสอนโดยใช้บุคลากรแค่เพียงอย่างเดียว เพราะฉะนั้นความคาดหวังสูงสุดต่อการเรียนของรายวิชานี้ คือ การนำความรู้ที่ได้รับจากรายวิชาไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการศึกษาอย่างสูงสุดนั่นเอง

วันเสาร์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ความเป็นมาและความหมายของเทคโนโลยีการศึกษา


 คำว่า เทคโนโลยี ถูกนำมาใช้ในทุกวงการ เช่น ในวงการแพทย์ เรียกว่า เทคโนโลยีการแพทย์ (Medical Technology) นำมาใช้ทางการเกษตร เรียกว่า เทคโนโลยีการเกษตร(Agricultural Technology) นำมาใช้ทางการอุตสาหกรรม เรียกว่า เทคโนโลยีการอุตสาหกรรม(Industrial Technology) นำมาใช้ทางการสื่อสาร เรียกว่า เทคโนโลยีการสื่อสาร (Communication Technology) และนำมาใช้ในวงการอื่นๆ อีกมากมาย รวมทั้งนำมาใช้ในวงการศึกษา ที่เรียกว่า เทคโนโลยีการศึกษา (Educational Technology)


     เทคโนโลยีการศึกษา (Educational Technology) ตามรูปศัพท์เทคโน (วิธีการ) + โลยี(วิทยา) หมายถึง ศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีการทางการศึกษา ครอบคลุมระบบการนำวิธีการมาพัฒนาปรับปรุงประสิทธิภาพของการศึกษาให้สูงขึ้น เทคโนโลยีทางการศึกษาครอบคลุมองค์ประกอบ 3 ประการ คือ วัสดุอุปกรณ์และวิธีการ สภาเทคโนโลยีการศึกษานานาชาติได้ให้คำจำกัดความของเทคโนโลยีการศึกษาว่า เป็นการพัฒนาและประยุกต์ระบบเทคนิคและอุปกรณ์ให้สามารถนำมาใช้อย่างเหมาะสม เพื่อสร้างเสริมกระบวนการเรียนรู้ของคนให้ดียิ่งขึ้น สอดคล้องกับเทคโนโลยีการศึกษา (Educational Technology) เป็นการขยายแนวคิดเกี่ยวกับโสตทัศนศึกษา (Audio Visual Education) ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากโสตทัศนศึกษา หมายถึง การเรียนรู้ผ่านประสาททั้งห้าคือ ตา หูจมูก ลิ้น และการสัมผัส ดังนั้น อุปกรณ์ในสมัยก่อนมักเน้นการใช้ประสาทสัมผัสด้านการฟังและการดูเป็นหลัก จึงใช้คำว่าโสตทัศนูปกรณ์ ส่วนเทคโนโลยีการศึกษามีความหมายที่กว้างกว่า โดยพิจารณาจากความคิดเป็น 2 ประการ คือ
      1. แนวคิดด้านวิทยาศาสตร์กายภาพ หมายถึง การประยุกต์วิทยาศาสตร์กายภาพในรูปของสิ่งประดิษฐ์เช่น เครื่องฉาย เครื่องเสียง วิทยุวิทยุโทรทัศน์เครื่องคอมพิวเตอร์ ฯลฯ มาใช้สำหรับการเรียนรู้ของนักเรียนเป็นส่วนใหญ่ การใช้เครื่องมือเหล่านี้มักคำนึงถึงเฉพาะการควบคุมให้เครื่องทำงาน มักไม่คำนึงถึงจิตวิทยาการเรียนรู้ ที่เกี่ยวข้อง ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษาตามความคิดรวบยอดนี้ ทำให้บทบาทของเทคโนโลยีการศึกษาแคบลงไป คือ มีเพียงวัสดุและอุปกรณ์เท่านั้น ไม่รวมวิธีการหรือปฏิกิริยาสัมพันธ์อื่นๆเข้าไปด้วย ซึ่งตามความหมายนี้ก็คือ “โสตทัศนศึกษา” นั่นเอง
      2. แนวคิดด้านพฤติกรรมศาสตร์เป็นการนำแนวคิดและวิธีการทางจิตวิทยา มานุษยวิทยากระบวน การกลุ่ม ภาษา การสื่อความหมาย การบริหาร กลไกการรับรู้มาใช้ควบคู่กับผลิตผลทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม เพื่อให้ผู้เรียนเปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นมิใช่เพียงการใช้เครื่องมืออุปกรณ์เท่านั้น แต่รวมถึงวิธีการทางวิทยาศาสตร์และวิธีการทางพฤติกรรมศาสตร์เข้าไปด้วย มิใช่วัสดุหรืออุปกรณ์แต่เพียงอย่างเดียว ปัจจุบันพัฒนาการการจัดการเรียนการสอนเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก จากเดิมที่ ครู-อาจารย์เป็นศูนย์กลางในการถ่ายทอดให้แก่ผู้เรียนด้วยวิธีการบรรยาย การทำให้ดู (สาธิต, การแสดง ฯลฯ)และผู้เรียนต้องทำหรือปฏิบัติตาม ด้วยคัมภีร์ ตำรา หนังสือเอกสาร กระดานชอล์ก ซึ่งเป็นวิธีการที่ซ้ำซากจำเจเรื่อยมา จนกระทั่งเกิดการเปลี่ยนแปลงบทบาทผู้สอน มาเป็นผู้กระตุ้นส่งเสริมให้ผู้เรียนดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นรายบุคคลหรือกลุ่ม ตลอดจนการจัดระบบการเรียนการสอน โดยอาศัยสื่อโสตทัศนวัสดุ (Audio Visual Material) เป็นตัวกลางที่ทำให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลการเรียนรู้ ทั้งทางด้าน การพัฒนาความรู้ ความคิด ทักษะและทัศนคติที่ดีต่อการเรียน บนพื้นฐานของจิตวิทยาการเรียนรู้
     วิจิตร ศรีสอ้าน (2529) ให้ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษาว่า หมายถึงการประยุกต์เอาเทคนิค วิธีการ แนวความคิด อุปกรณ์และเครื่องมือใหม่ๆมาใช้เพื่อช่วยแก้ปัญหาทางการศึกษา ทั้งด้านการขยายงานและด้านการปรับปรุงคุณภาพการเรียนการสอน ดังนั้น เทคโนโลยีจึงครอบคลุมขอบข่ายสำคัญๆ 3 ประการคือ
1. การนำเอาเครื่องมือและอุปกรณ์ใหม่ๆ มาใช้ประกอบในการเรียนการสอน ได้แก่ การนำเครื่องจักรกลไกและเทคโนโลยีมาใช้ เช่น เครื่องฉายภาพต่างๆ เครื่องเสียงต่างๆ คอมพิวเตอร์ ฯลฯ
2. การผลิตวัสดุการสอน เช่นภาพถ่าย แผนที่แผนภูมิ รวมถึงเอกสาร ตำรา วัสดุสิ่งพิมพ์และแบบเรียนสำเร็จรูป เป็นต้น
3. การใช้เทคนิคและวิธีการใหม่ๆ นอกจากเครื่องมืออุปกรณ์ และวัสดุการสอนข้างต้นแล้ว เทคโนโลยียังมีขอบข่ายครอบคลุมถึงการใช้เทคนิควิธีการใหม่ๆ ในการเรียนการสอนด้วย เช่น ชุดการเรียนการสอนสำเร็จรูป ศูนย์การเรียน แหล่งการสืบค้น และการจัดตารางสอนแบบยืดหยุ่น การสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง