วันพุธที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2555

แบบฝึกหัดสื่อสารมวลชนเพื่อการศึกษา

1.สื่อมวลชนเพื่อการศึกษามีกี่ประเภทอะไรบ้าง
ตอบ  สื่อมวลชนเพื่อการศึกษามีทั้งหมด 6 ประเภท ประกอบด้วย
        1. สิ่งพิมพ์ ได้แก่ หนังสือพิมพ์ วารสาร นิตยสาร หนังสือ และสิ่งตีพิมพ์ประเภทอื่นๆ
        2. ภาพยนตร์ ทั้งภาพยนตร์เรื่อง ภาพยนตร์สารคดี และภาพยนตร์ทางการศึกษาบางประเภท
        3. วิทยุกระจายเสียง ได้แก่วิทยุที่ส่งรายการออกอากาศ ทั้งระบบ AM และ FM รวมไปถึงระบบเสียงตามสาย
        4. วิทยุโทรทัศน์ เป็นสื่อทางภาพและทางเสียงที่เผยแพร่ออกไป ทั้งประเภทออกอากาศและส่งตามสาย
        5. สื่อสารโทรคมนาคม เป็นผลจากความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี มีการส่งข้อความ เสียง ภาพ ตัวพิมพ์ สัญลักษณ์ต่างๆ ได้หลากหลาย ครอบคลุมกิจการสื่อสารผ่านดาวเทียม โทรภาพ โทรพิมพ์
        6. สื่อวัสดุบันทึก ได้แก่เทปบันทึกเสียง เทปบันทึกภาพ แผ่นบันทึกเสียง แผ่นบันทึกภาพ ซึ่งกลายเป็นสื่อมวลชน เพราะเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าทำให้สามารถผลิตเผยแพร่ได้มากและรวดเร็ว


2. คุณค่าของสื่อมวลชนเพื่อการศึกษามีอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ  วิลเบอร์ ชแรมม์ นักวิชาการด้านการสื่อสารมวลชนได้กล่าวถึงบทบาทของสื่อสารมวลชน ที่เกี่ยวกับการศึกษาไว้ว่า สื่อมวลชนเปรียบเสมือนครู ที่ให้การศึกษาแก่ประชาชนทั้งทางตรงและทางอ้อม ให้ทั้งความรู้ทางวิชาการใหม่ๆ และเจตคติในด้านต่างๆ ( Schramm 1964 : 144) ซึ่งถือได้ว่ามีความเป็นจริงอย่างมากในสังคมปัจจุบัน เนื่องจากสื่อมวลชนต่างๆ ได้แสดงบทบาทหน้าที่ทางด้านการศึกษาให้เห็นอย่างเด่นชัด โดยสามารถจำแนกคุณค่าได้ดังนี้
         1. การเพิ่มของประชากร ในระบบโรงเรียน สื่อมวลชนนั้นสามารถกระจายความรู้ข่าวสารไปสู่ผู้ฟังได้เป็นจำนวนมากพร้อมกัน หากสามารถคิดค้นหาวิธีการ ที่จะนำสื่อมวลชนต่างๆ มาใช้ได้อย่างเหมาะสม ย่อมจะช่วยแก้ปัญหานี้ได้
2. แนวคิดการศึกษาตลอดชีวิต แนวคิดทางการศึกษาในปัจจุบัน ถือว่า การศึกษาของคน มิใช่จะเกิดขึ้นเฉพาะผู้ที่อยู่ในวัยศึกษาเล่าเรียนเท่านั้น แต่จะต้องเกิดขึ้นตลอดเวลาที่คนมีชีวิตอยู่ ซึ่งเรียกว่า การศึกษาตลอดชีวิต
3. การขาดแคลนผู้สอนที่เชี่ยวชาญ ในการเรียนการสอน ครูผู้สอนเป็นปัจจัยที่สำคัญ ที่ช่วยให้การสอนประสบผลสำเร็จ การเรียนการสอนสาขาวิชาการต่างๆ ในปัจจุบัน มีหลายสาขาวิชาที่ขาดแคลนผู้สอนที่มีความรู้ความสามารถและเชี่ยวชาญการสอน สื่อมวลชน เปิดโอกาสให้นำรายการสอนจากผู้สอนที่เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ไปสู้ห้องเรียนตลอดจนถึงชุมชนบ้านเรือนได้อย่างกว้างขวาง
4. ขาดแคลนวัสดุอุปกรณ์การสอนวัสดุอุปกรณ์การเรียนการสอนประเภทสื่อโสตทัศนศึกษา และวัสดุอุปกรณ์สำหรับการทดลองปฏิบัติการต่างๆ นับว่าเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นสำหรับการเรียนการสอน ซึ่งในสภาพโดยทั่วไปของโรงเรียนหรือสถานศึกษาต่างๆ ในปัจจุบัน ยังขาดแคลนสิ่งเหล่านี้อยู่มาก
5. การกระจายของประชากร ความจำเป็นในการรับทราบข่าวสาร และการเรียนรู้สิ่งต่างๆ ย่อมจะต้องมีอยู่ทุกหนทุกแห่ง การจัดการศึกษาให้ในรูปแบบอื่นอาจทำได้ยาก แต่หากจัดการศึกษาให้ได้รับทางสื่อสารมวลชนย่อมสามารถทำได้เสมอ
6. การเปลี่ยนแปลงของสังคมและข่าวสาร สถานการณ์ของสังคมและข่าวสารต่างๆ มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอและมีอัตราการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว ซึ่งข่าวสารเหล่านี้จะถูกรายงานให้ประชาชนทราบอยู่ตลอดเวลาโดยสื่อมวลชนต่างๆ การศึกษาทางด้านสังคมจึงสามารถใช้ข้อมูลข่าวสารจากสื่อมวลชนได้โดยตรง
7. ความก้าวหน้าของสื่อมวลชน
ความต้องการรับรู้ข่าวสารของประชาชน ประกอบกับความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี การสื่อสาร และการศึกษาค้นคว้าทางด้านการสื่อสารมวลชน ทำให้สถานภาพการสื่อสารมวลชนปัจจุบันได้รับการพัฒนาขึ้นหลายด้าน เช่น
- ด้านปริมาณ มีสื่อมวลชนเพิ่มจำนวนขึ้นมาก นำเสนอเนื้อหาหลากหลาย ตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างทั่วถึง
- เนื้อหาสาระ หรือรายการที่เป็นประโยชน์ทั้งด้านบันเทิงและด้านการศึกษามีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างมาก
- คุณภาพของสื่อ ได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้นมาก เช่น สิ่งพิมพ์ต่างๆ มีคุณภาพดีขึ้น ตัวหนังสือ ภาพประกอบ สี มีความสวยงาม สื่อความหมายได้ชัดเจน วิทยุโทรทัศน์ ได้รับการปรับให้เสียงและภาพชัดเจนขึ้น
- เทคนิคการนำเสนอ ได้แก่ การจัดรูปแบบสิ่งพิมพ์ รูปแบบของรายการโทรทัศน์ ที่ได้รับการปรับปรุงให้ทัดเทียมกับนานาประเทศ มีรายการแปลกๆ ใหม่ๆ ใช้เทคนิคการตัดต่อภาพหรือเสียง และเทคนิคพิเศษน่าสนใจ และก่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจได้มากขึ้น

3. ให้นิสิตยกตัวอย่างสื่อสารมวลชนเพื่อการศึกษามา 1 รายการ พร้อมอธิบายประโยชน์ของรายการนั้นๆ
ตอบ  รายการ สารคดีมิติโลกหลังเที่ยงคืน ทางช่องทีวีไทย ออกอากาศทุกวันอังคาร-อาทิตย์ เวลา 01.00 น. เป็นต้นไป โดยรายการนี้จะเป็นสารคดีชุดที่จะเล่าถึงเรื่องราวต่างๆที่อยู่รอบโลก ไม่ว่าจะเป็นประวัติศาสตร์ การเอาตัวรอดในภาวะคับขัน การใช้ชีวิต การท่องเที่ยว ฯลฯ โดยรายการนี้จะให้ความรู้แก่ผู้ชมเป็นอย่างมาก ผู้ชมสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ภายในชีวิตประจำวันหรือในสถานการณ์คับขันได้อย่างมาก

แบบฝึกหัดโทรคมนาคมเพื่อการศึกษา

1.โทรคมนาคมหมายถึงอะไรและมีประโยชน์ทางการศึกษาอย่างไรบ้าง
ตอบ  โทรคมนาคม หมายถึง การส่งสารสนเทศในรูปแบบของตัวอักษร ภาพ เสียงโดยใช้กระบวนการที่หลากหลาย เช่น คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า พลังงานไฟฟ้า หรือเคเบิลใยแก้วนำแสง ดาวเทียม เป็นต้น ไปยังผู้รับสารที่ต้องการเรียนรู้หรือการจัดการศึกษาในรูปแบบต่าง ๆ โดยโทรคมนาคมนี้มีประโยชน์ต่อการศึกษาหลายทางทั้ง การแพร่กระจายสัญญาณภาพผ่านดาวเทียมเพื่อผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษาที่อยู่ห่างไกลหรือไม่สามารถเรียนรู้ได้ในเวลาปกติหรือที่เราเรียกกันว่า " การเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม " เป็นต้น


2. การใช้ Facebook เป็นโทรคมนาคมเพื่อการศึกษาหรือไม่ ถ้าเป็นจงยกตัวอย่างประโยชน์ของ Facebook
ตอบ  เป็น เพราะในยุคปัจจุบันเป็นยุคการติดต่อสื่อสารไร้พรหมแดน Facebook ก็เป็นอีกหนึ่งช่องทางที่เราจะสามารถใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาได้ โดยวิธีที่ว่านั้นคือการติดต่อหรือแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน จนกลายเป็นกลุ่มสังคมที่จะสามารถให้ความรู้และนำความรู้ใหม่ๆมาเผยแพร่ อีกทั้งยังช่วยให้เราได้รับรู้สิ่งที่เราไม่เคยเห็น ไม่เคยรู้ โดยที่เราไม่จำเป็นจะต้องเดินทางไปแสวงหาความรู้นั้นๆด้วยตนเอง


3.นิสิตสามารถรับชมโทรทัศน์ทางไกลผ่านดาวเทียมได้ด้วยวิธีทางใดบ้าง
ตอบ  ระบบ DSTV เป็นระบบโทรทัศน์ผ่านจานรับสัญญาณดาวเทียม ในย่านความถี่ KU-Band ที่เป็นระบบเดียวกับ ทรูวิชั่นส์ ซึ่งสามารถซื้อ ชุดรับสัญญาณดาวเทียม กับตัวแทนจำหน่ายของ ทรูวิชั่นส์ ได้ทั่วไป โดยไม่เสียค่าบริการรายเดือน โดยมีราคาประมาณชุดละ 12,000 บาท หรือหากมีเครื่องรับสัญญาณดาวเทียม ที่สามารถรับย่าน KU-Band ได้ ก็สามารถรับชมได้ เพราะระบบออกอากาศของสถานีฯ มิได้มีการเข้ารหัสไว้ จึงไม่ต้องใช้ Smart Card ในการรับชมรายการ            
         ระบบ CATV เป็นระบบโทรทัศน์ผ่านสายเคเบิล ซี่งสามารถรับชมได้ ในเขตกรุงเทพมหานคร และจังหวัดปริมณฑล แต่สามารถรับชมรายการได้เพียง 7 ช่อง และต้องเสียค่าบริการรายเดือน กับบริษัทเคเบิลทีวีที่ให้บริการ สามารถใช้ประโยชน์จากการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม โดยวิธีการศึกษาผ่านระบบอินเทอร์เน็ตได้อีกทางหนึ่ง โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในด้านเนื้อหาวิชา (Free-of-charge Web-based Information Content) ทั้งในระบบรายการถ่ายทอดสด (Live Broadcast) และระบบรายการตามคำสั่ง (On Demand) ทางเว็บไซต์ของ มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม และ สถานีวิทยุโทรทัศน์การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม


4.ประโยชน์ของโทรทัศน์ทางไกลผ่านดาวเทียมมีอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ เนื่องจากการศึกษาในปัจจุบันนั้น ยังมีความเหลื่มล้ำทางโอกาสและระยะทาง จึงทำให้หลายคนด้อยโอกาสทางการศึกษา อาทิเช่น พื้นที่ในชนบทที่ขาดแคลนครูหรือโรงเรียน บางที่นักเรียนหรือผู้ต้องการศึกษาหาความรู้จำเป็นจะต้องเดินทางไปไกลหลายๆกิโลเมตรเพื่อไปเรียนหรือหาความรู้หรือคนที่ขาดเวลาที่จะสามารถเดินทางไปเรียนได้ตามเวลา เนื่องจากเหตุผลนานาประการ เป็นต้น ด้วยเหตุนี้โทรทัศน์ทางไกลผ่านดาวเทียมจึงช่วยลดความเหลื่อมล้ำนี้ลง เพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้กับผู้ขาดโอกาสและผู้ที่ไม่มีเวลาพอสำหรับการเรียนรู้ที่แน่นอน เพราะโทรทัศน์ทางไกลผ่านดาวเทียมจะช่วยให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงความรู้ต่างๆได้ โดยไม่จำเป้นต้องเดินทางไปเรียนด้วยตนเองและสามารถเรียนรู้ได้ตลอดเวลา


5.นิสิตรับชมรายการจาก http://www.youtube.com/watch?v=OvUsY7oTEQcและจงอธิบายถึงประวัติความเป็นมาของสถานีโทรทัศน์ทางไกลผ่านดาวเทียมไทยคม 
ตอบ  สถานีวิทยุโทรทัศน์การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม หรือ Distance learning Television (DLTV) เกิดขึ้นเพื่อสนองพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่อยากให้เด็กไทยได้รับความรู้อย่างทั่วถึง ทุกภูมิภาค ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2538 เพื่อเฉลิมพระเกียรติในมหามงคลวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ทรงครองสิริราชสมบัติครบรอบ 50 ปี โดยจัดการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม  ถ่ายทอดสดหลักสูตรประถมศึกษา มัธยมศึกษา และสายวิชาชีพให้แก่โรงเรียนในสังกัดกรมสามัญศึกษา


6.ให้นิสิต Post รูปภาพเกี่ยวกับโทรคมนาคมเพื่อการศึกษาลงใน Weblog 



วันพุธที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ศึกษานอกสถานที่ ณ สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา



    สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพาหรือที่คนหลายคนอาจจะเรียกจนติดปากว่า " พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ " จัดตั้งอยู่ภายในมหาวิทยาลัยบูรพา โดยหลายคนอาจจะรู้จักมหาวิทยาลัยบูรพาก็เพราะพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ โดยสถาบันทางวิทยาศาสตร์ทางทะเลที่เราพูดถึงกันนี้ มีความสำคัญทั้งสำหรับการเรียนรู้ การพักผ่อนหย่อนใจและการท่องเที่ยวของจังหวัดชลบุรีอีกด้วย โดยภายในสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งนี้ได้มีการจัดแสดงอะไรหลายๆอย่างมากมายทั้ง โดยส่วนใหญ่แล้วนั้นคงจะหนีไม่พ้น "สัตว์น้ำ"อย่างแน่นอน โดยสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลได้แบ่งส่วนจัดแสดงต่างๆออกเป็น 2 ชั้น โดยภายในแต่ละชั้นประกอบด้วยการจัดแสดงดังนี้







ชั้นที่ 1 ส่วนจัดแสดงสัตว์น้ำที่มีชีวิต

    ในส่วนการจัดแสดงภายในชั้นที่ 1 นี้จะเป็นการจัดแสดงเกี่ยวกับสัตว์น้ำบางชนิดที่มีอยู่ภายในประเทศโดยจะมีทั้งสัตว์น้ำที่ยังมีชีวิตและป้ายนิเทศน์สำหรับสัตว์บางชนิดที่ไม่สามารถนำมาจัดแสดงได้ ในส่วนของสัตว์น้ำที่ยังมีชีวิตอยู่นั้น ทางสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลได้พยายามจัดสถานที่ในการเลี้ยงดูให้ใกล้เคียงกับธรรมชาติมากที่สุด โดยจะเลี้ยงในระบบหมุนเวียนแบบปิดและมีระบบการให้อาหาร เพื่อให้สัตว์เหล่านี้ดำรงชีวิตอยู่ได้และในส่วนนี้จะประกอบไปด้วย ปลาเศรษฐกิจ สัตว์น้ำเค็มที่ไม่มีกระดูกสันหลัง  สัตว์ที่อาศัยอยู่ในเขตนำขึ้น-น้ำลง การอยู่ร่วมกันของสัตว์น้ำ ปลาในแนวปะการัง ปลารูปร่างแปลก ปลาที่มีพิษตลอดจนปลาที่อาศัยอยู่ในมหาสมุทร โดยจะจัดแสดงแยกกันออกเป็นส่วนๆตามประเภท



            




                                                      



























ชั้นที่ 2 ส่วนจัดแสดงนิทรรศการต่างๆ

    ในชั้นที่ 2 ของสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลนี้ จะเป็นส่วนสำหรับจัดการแสดงนิทรรศการที่จะให้ความรู้เกี่ยวกับระบบนิเวศทางทะเล การใช้ชีวิตของมนุษย์ร่วมกับทะเล ห่วงโซ่อาหารของสัตว์น้ำที่ดำรงชีวิตอยู่ในทะเล โดยนิทรรศการในส่วนนี้จะให้ความรู้ว่า ระบบนิเวศนั้นมีอะไรบ้าง อาทิเช่น ระบบนิเวศป่าชายเลน ระบบนิเวศหาดหิน ระบบนิเวศหาดทรายและหาดโคลน ระบบนิเวศแนวปะการัง เป็นต้น โดยจะอธิบายว่าระบบนิเวศเหล่านี้มีลักษณะอย่างไร มีสัตว์น้ำชนิดใดบ้างอาศัยอยู่ในระบบนิเวศนั้นๆ ส่วนการจัดแสดงนิทรรศการอื่นๆนั้น จะประกอบไปด้วย นิทรรศการอาณาจักรสัตว์ทะเล ซึ่งจะทำให้เราได้รับความรู้เกี่ยวกับสัตว์ที่อาศัยอยู่ในทะเลโดยผ่านแผนภาพต้นไม้ ที่จะแบ่งแยกสัตว์น้ำออกเป็นประเภท ทั้งสัตว์หรือสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในทะเล เช่น แพลงตอน สิ่งมีชีวิตที่เปรียบเสมือนแหล่งอาหารที่ขับเคลื่อนทำให้สัตว์น้ำในทะเลมีชีวิตและดำรงอยู่ได้ สัตว์ที่โพรงลำตัว เช่น ปะการัง กัลปังหา แมงกระพรุน ดอกไม้ทะเล สิ่งมีชีวิตเหล่านี้ก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่ทำให้ทะเลยังมีชีวิตอยู่จนถึงปัจจุบันได้ เพราะเป็นทั้งที่อยู่ หลบซ่อนและแหล่งอาหารแก่สัตว์ทะเลได้ สัตว์ทะเลจำพวกหอย สัตว์จำพวกหนอนในทะเล สัตว์ที่มีข้อปล้อง สัตว์จำพวกคอร์เดทในทะเล และ สัตว์น้ำเค็มที่มีกระดูกสันหลัง โดยในประเภทหลังนั้น ก็คือสัตว์ที่เราะพอจะรู้จักกันมากที่สุด เพราะสัตว์จำพวกนี้ก็คือ พวกปลาทะเลต่างๆนั่นเอง





    นิทรรศการความสำคัญของทะเลที่มีคุณค่าต่อมนุษย์ ในส่วนของนิทรรศการนี้นั้น จะแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของทะเลที่สร้างประโยชน์ให้กับมนุษย์ โดยประโยชน์ที่มนุย์ได้รับจากทะเลนั้นมีมากมายหลายสถาน ทั้งเป็นแหล่งหาอาหารเพื่อดำรงชีวิต ทั้งเป็นแหล่งท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ อีกทั้งนิทรรศการส่วนนี้ยังแสดงให้เห็นการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันระหว่างมนุษย์และทะเล โดยจะแสดงให้เห็นว่า ตามบริเวณชายฝั่งนั้น มนุษย์ได้มีการประยุกต์หรือค้นหาวิธีการต่างๆเพื่ออยู่ร่วมกันกับทะเล ทั้งการหาอาหาร การสร้างที่พักอาศัย ตลอดจนการศึกษาเรื่องราวต่างๆเกี่ยวกับทะเล















         หลังจากการที่ได้ทำการไปศึกษานอกสถานที่ ณ สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล สามารถแบ่งสื่อตามประสบการณ์การเรียนรู้ ของสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลได้ดังนี้ คือ
         นำหลักการสื่อสารโดยประสบการณ์การเรียนรู้ของ Edgar Dale นำมาใช้ประกอบเพื่อให้ผู้ที่มาเยี่ยมชมได้รับอรรถรสในการรับชมอย่างเต็มที่ คือ มีการใช้สื่อต่างๆมาประกอบเพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจนซึ่งประกอบด้วย
  1. ประสบการณ์ตรงและมีความมุ่งหมาย สาระที่นำเสนอคือ อุโมงค์ขนาดใหญ่ที่ได้รวมพันธุ์ปลาชนิดต่างๆที่อาศัยอยู่ใต้ทะเล ไม่ว่าจะเป็นทะเลน้ำลึกและน้ำตื้น ให้เราได้เห็นกันอย่างใกล้ชิดและชัดเจน ตัวอย่างเช่น ปลา ปลิง กุ้ง หอย ปะการัง เป็นต้น
  2. ประสบการณ์จำลอง สาระที่นำเสนอคือ การจำลองโลกใต้ทะเลมาเป็นอุโมงค์ให้ศึกษา  การจำลองอุปกรณ์ที่ใช้ในด้านการประมงในสมัยก่อน เป็นต้น
  3. การศึกษานอกสถานที่ สาระที่นำเสนอคือ การศึกษาหาความรู้จากสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา เกี่ยวกับสัตว์โลกใต้ทะเล
  4. นิทรรศการ สาระที่นำเสนอคือ การจัดป้ายนิทรรศการกำเนิดมอลลัสก์ ซึ่งเป็นหอยชนิดต่างๆป้ายนิเทศพ่อผู้ให้กำเนิด ซึ่งก็คือม้าน้ำนั่นเอง และยังมีป้ายนิทรรศการอื่นๆอีก
  5. โทรทัศน์ศึกษา สาระที่นำเสนอคือ การ์ตูนเกี่ยวกับดินแดนมอลลัสก์
  6. ทัศนสัญลักษณ์ สาระที่นำเสนอคือ แผนผังหรือแผนที่สถานเลี้ยงสัตว์น้ำเค็ม แผนภูมิแบบต้นไม้ที่แสดงอาณาจักรของสิ่งมีชิวิตใน ทะเล การ์ตูน Animation เกี่ยวกับมอลลัสก์ เป็นต้น
  7. วจนสัญลักษณ์ สาระที่นำเสนอคือ ข้อความต่างๆที่บอกรายละเอียด เนื้อหา สาระสำคัญ เช่น ชนิดหรือประเภทของสัตว์ที่อยู่ใต้ทะเล เป็นต้น
       โดยการศึกษานอกสถานที่ในครั้งนี้พอจะสรุป สื่อกราฟฟิกที่สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลใช้ในการสื่อสารและให้ความรู้ออกเป็นดังนี้
  1. แผนภูมิ เช่น แผนภูมิแสดงอาณาจักรสัตว์ใต้ทะเล แผนภูมิแสดงวิวัฒนาการของสัตว์ และแผนผังแสดงสถานเลี้ยงสัตว์น้ำเค็ม เป็นต้น
  2. หุ่นจำลอง เช่น แบบจำลองการทำประมงโดยใช้เครื่องมือประมงทะเล ยกตัวอย่างเช่น โป๊ะ และเรือประมงทะเลชนิดต่างๆ ตัวอย่างเช่น สัตว์สต๊าฟ เป็นต้นง
  3. ของจริง เช่น การได้ดูหรือพบเห็นสัตว์ต่างๆที่อยู่ในตู้ปลา ทั้งปลา ปะการัง และสัตว์อื่นๆ
  4. ป้ายนิเทศ เช่น ข้อความที่บอกประเภทหรือชนิดของสัตว์น้ำใต้ทะเล และป้ายนิเทศแสดงการเกิดของมอลลัสก์ เป็นต้น
  5. ตู้อันตรทัศน์ เช่น ฉากแสดงพื้นที่สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล ฉากแสดงเปลือกหอยและหอยประเภทต่างๆ เป็นต้น

ภาพบรรยากาศและกิจกรรม
















วันพฤหัสบดีที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

การอบรมและสื่อต่าง ณ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา วันที่ 5 กรกฎาคม 2555

 วิทยากร ได้ให้ความรู้ เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีทางการศึกษาที่มีอยู่ภายในสำนักหอสมุด เช่น ระบบสืบค้นวัสดุสารสนเทศ (Web OPAC) การสืบค้นข้อมูลโดยการใช้ฐานข้อมูล EBSCO การสืบค้นฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ วิจัย บทความต่างๆ จากมหาวิทยาลัยทั่วประเทศโดยใช้ระบบ ThaiLIS TDC เป็นต้น อีกทั้งวิทยากรยังพาชมหน่วยงานและส่วนต่างๆของสำนักหอสมุด โดยการอบรมครั้งนี้ทำให้ได้รับความรู้ในการใช้ห้องสมุด การค้นหาหนังสือ จองหนังสือล่วงหน้าและอื่นๆอีกมากมาย





บรรยากาศการอบรม





ศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเองและลงมือปฏิบัติ







บรรยากาศระหว่างการอบรม(อีกมุมหนึ่ง)







มอบของเล็กๆน้อยเพื่อเป็นการตอบแทนวิทยากร






แต่ละคนดูท่าจะตั้งใจฟังกันมาก 





สภาพบรรยากาศที่ชั้น 2







ก่อนเสร็จสิ้นการอบรม ชักภาพเป็นที่ระลึก



ที่สำนักหอสมุด มีบริการสารสนเทศในรูปเเบบต่างมากมาย อาทิ เช่น หนังสือทั้งภาษาไทยเเละภาษาต่างประเทศ วิทยานิพนธ์ ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ วารสารอิเล็กทรอนิกส์ หนังสืออ้างอิง สื่อโสตทัศน์ ชุดศึกษา VCD DVD ต่างๆ เทปเสียง รายการโทรทัศน์ผ่านดามเทียม บริการอินเทอร์เน็ต เป็นต้น
               นอกจากนี้ ยังมีบริการอื่นๆ อีก ได้่เเก่ การนำชมหอสมุด การฝึกอบรมการใช้งานเทคโนโลยีต่างๆ Book Showroom มุมคุณธรรม  บริการห้องศึกษากลุ่ม-เดี่ยว ห้องมินิโฮมเธียเตอร์ ตลอดจนสถานที่สำหรับใช้ในการศึกษาหาความรู้หรือพักผ่อน ตลอดจนสถานที่เพื่อการติวหนังสือหรือทบทวนบทเรียนต่างๆ ซึ่งที่ชั้น 1 จะเปิดให้บริการสำหรับนิสิตนักศึกษา ตลอด 24 ชั่วโมง



                                        ชั้นที่ 1 เปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง




                                          ชั้นที่ 2 สำหรับสมัครสมาชิก ยืม-คืนหนังสือ Book Show Room ฯ    




                                                    

















        ชั้นที่ 3,4,5,6,7 จะประกอบด้วย หนังสือทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ นวนิยาย เรื่องสั้น วารสาร หนังสือพิมพ์ วิทยานิพนธ์ หนังสืออ้างอิง หนังสือหายาก SET Corner มุมคุณธรรม ห้องศึกษากลุ่ม-เดี่ยว ชุดศึกษาวิดีทัศน์ วีซีดี ซีดีรอม-มัลติมีเดีย ศูนย์บริการอินเทอร์เน็ต ส่วนสำหรับการสืบค้นวารสารอิเล็กทรอนิกส์ ห้องมินิโฮมเธียเตอร์ หนังสือในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ หนังสือราชกิจจานุเบกษา












วันเสาร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2555

การบ้านวันที่ 18-24 มิ.ย. 2555


แบบฝึกหัดประจำวันที่ 18-24 มิถุนายน 2555
1. ประเภทของสื่อเทคโนโลยีการศึกษาที่แบ่งตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ได้กี่ประเภทอะไรบ้าง
ตอบ        พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ ได้ระบุไว้ในหมวด ๙ ประกอบด้วย ๔ ส่วนคือ
๑. สื่อโสตทัศน์
๒. สื่อมวลชน
๓. สื่ออิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม รวมคอมพิวเตอร์
๔. สื่อที่เป็นแหล่งวิทยาการ เช่น หอสมุด ห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ เป็นต้น

2. ประเภทของสื่อเทคโนโลยีการศึกษาที่แบ่งตามลักษณะทั่วไปได้กี่ประเภท อะไรบ้าง จงหาภาพมาประกอบ
ตอบ       ประเภทสื่อเทคโนโลยีการศึกษาแบ่งตามลักษณะทั่วไปแบ่งได้เป็น 3 ประเภท ประกอบด้วย
               1. สื่อสิ่งพิมพ์ หมายถึง หนังสือและเอกสารสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ที่แสดงหรือเรียบเรียงสาระความรู้ต่าง ๆ โดยใช้ตัว หนังสือที่เป็นตัวเขียนหรือตัวพิมพ์เป็นสื่อในการแสดงความหมาย สื่อสิ่งพิมพ์มีหลายชนิด ได้แก่ เอกสาร หนังสือเรียน หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสาร บันทึก รายงาน ฯลฯ












2. สื่อเทคโนโลยี หมายถึง สื่อการเรียนรู้ที่ผลิตขึ้นใช้ควบคู่กับเครื่องมือโสตทัศนวัสดุ หรือเครื่องมือที่เป็น เทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น แถบบันทึกภาพพร้อมเสียง (วิดีทัศน์) แถบบันทึกเสียง ภาพนิ่ง สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน นอกจากนี้สื่อเทคโนโลยี ยังหมายรวมถึงกระบวนการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ใน กระบวนการเรียนรู้ เช่น การใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียนรู้ การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม เป็นต้น







3. สื่ออื่น ๆ นอกเหนือจากสื่อ 2 ประเภทที่กล่าวไปแล้ว ยังมีสื่ออื่น ๆ ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน ซึ่งมี ความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อเทคโนโลยี สื่อที่กล่าวนี้ ได้แก่




3.1 บุคคล หมายถึง บุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญในสาขาต่าง ๆ ซึ่งสามารถถ่ายทอด สาระความรู้ แนวคิดและประสบการณ์ไปสู่บุคคลอื่น เช่น บุคลากรในท้องถิ่น แพทย์ ตำรวจ นักธุรกิจ เป็นต้น






3.2 ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หมายถึง สิ่งมีอยู่ตามธรรมชาติและสภาพแวดล้อมตัวผู้เรียน เช่น พืชผักผลไม้ ปรากฏการณ์ ห้องปฏิบัติการ เป็นต้น









3.3 กิจกรรม / กระบวนการ หมายถึง กิจกรรม หรือกระบวนการที่ผู้สอนและผู้เรียนกำหนดขึ้นเพื่อสร้างเสริม ประสบการณ์การเรียนรู้ ใช้ในการฝึกทักษะซึ่งต้องใช้กระบวนการคิด การปฏิบัติ การเผชิญสถานการณ์และ การประยุกต์ความรู้ของผู้เรียน เช่น บทบาทสมมติ การสาธิต การจัดนิทรรศการ การทำโครงงาน เกม เพลง เป็นต้น







3.4 วัสดุ เครื่องมือและอุปกรณ์ หมายถึง วัสดุที่ประดิษฐ์ขึ้นใช้เพื่อประกอบการเรียนรู้ เช่น หุ่นจำลอง แผนภูมิ แผนที่ ตาราง สถิติ รวมถึงสื่อประเภทเครื่องมือและอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ในการปฏิบัติงานต่าง ๆ เช่น อุปกรณ์ทดลองวิทยาศาสตร์ เครื่องมือช่าง เป็นต้น





3. ประเภทของเทคโนโลยีการศึกษาที่แบ่งตามประสบการณ์ เป็นของนักการศึกษาท่านใด และมีการจัดประสบการณ์จากนามธรรมไปสู่รูปธรรมโดยเริ่มต้นจากประสบการณ์ใดไปประสบการณ์ใดจงอธิบาย

ตอบ     เป็นของเอดการ์ เดล (Edgar Dale) โดย จัดแบ่งสื่อการสอนเพื่อเป็นแนวทางในการอธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างโสตทัศนูปกรณ์ และแสดงเป็นขั้นตอนของประสบการณ์การเรียนรู้และการใช้สื่อ นำมาสร้างเป็น กรวประสบการณ์” (Cone of Experience ) แบ่งเป็นขั้นตอนดังนี้
1. ประสบการณ์ตรง ซึ่งเป็นขั้นที่เป็นรูปธรรมมากที่สุด เพราะผู้เรียนได้รับประสบการณ์จากของจริง สถานที่จริง
2. ประสบการณ์รอง ผู้เรียนเรียนจากสิ่งที่ใกล้เคียงกับความจริงที่สุด
3.ประสบการณ์นาฏกรรมหรือการแสดง เป็นการแสดงบทบาทสมมติ หรือการแสดงละคร
4. การสาธิต เป็นการแสดงหรือกระทำประกอบคำอธิบาย
5. การศึกษานอกสถานที่ ให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ภายนอกที่เรียน
6. นิทรรศการ เป็นการจัดแสดงสิ่งของต่างๆ การจัดป้ายนิเทศ
7.โทรทัศน์ ใช่ส่งได้ทั้งระบบวงจรเปิดหรือวงจรปิด การสอนจะเป็นการสอนสดหรือบันทึกลงบนวีดิทัศน์
8. ภาพยนตร์ เป็นภาพที่บันทึกเรื่องราวเหตุการณ์ลงบนฟิล์ม
9. การบันทึกเสียง วิทยุ ภาพนิ่ง เป็นการฟังหรือดูภาพโดยไม่ต้องอ่าน
10. ทัศนสัญลักษณ์ เช่น แผนภูมิ แผนที่ แผนสถิติ
11. วจนสัญลักษณ์ ซึ่งเป็นขั้นนามธรรมมากที่สุด ได้แก่ ตัวหนังสือ เสียงพูด



4. การสื่อสารหมายถึงอะไร
ตอบ       การสื่อสาร (communications)  มีที่มาจากรากศัพท์ภาษาลาตินว่า  communis หมายถึง  ความเหมือนกันหรือร่วมกัน   การสื่อสาร (communication)    จึงหมายถึงกระบวนการถ่ายทอดข่าวสาร  ข้อมูล ความรู้ ประสบการณ์  ความรู้สึก ความคิดเห็น ความต้องการจากผู้ส่งสารโดยผ่านสื่อต่าง ๆ ที่อาจเป็นการพูด การเขียน สัญลักษณ์อื่นใด การแสดงหรือการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ไปยังผู้รับสาร ซึ่งอาจจะใช้กระบวนการสื่อสารที่แตกต่างกันไปตามความเหมาะสม หรือความจำเป็นของตนเองและคู่สื่อสาร  โดยมีวัตถุประสงค์ให้เกิดการรับรู้ร่วมกันและมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อกัน  บริบททางการสื่อสารที่เหมาะสมเป็น ปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้การสื่อสารสัมฤทธิ์ผล








5. สื่อและเทคโนโลยีการศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของการสื่อสารในองค์ประกอบใด จงอธิบาย
ตอบ       สื่อและเทคโนโลยีทางการศึกษา จัดอยู่ในองค์ประกอบที่เรียกว่า “สื่อหรือช่องทาง” (Media or Channel)
เพราะสื่อหรือช่องทาง หมายถึง  สิ่งที่เป็นพาหนะของสาร  ทำหน้าที่นำสารจากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสาร   ผู้ส่งสารต้องอาศัยสื่อหรือช่องทางทำหน้าที่นำสารไปสู่ผู้รับสาร  ด้วยความหมายข้างต้นจึงจัดว่า สื่อและเทคโนโลยีทางการศึกษา อยู่ในองค์ประกอบสื่อและช่องทาง (Media or Channel





6. จงเขียนแบบจำลองของการสื่อสารของเดวิดเบอร์โล มาพอเข้าใจ

ตอบ 
           


7. อุปสรรคของการสื่อสารมีอะไรบ้าง
ตอบ     อุปสรรคของการสื่อสารที่เกิดขึ้นมีหลายลักษณะ  อาจซับซ้อนผิดแผกกันไป  ดังนี้
                ๑. ผู้ส่งสาร   ถ้าผู้ส่งสารขาดพื้นความรู้และประสบการณ์ในเรื่องที่จะสื่อสาร  แต่จำต้องพูดหรือเขียนออกไป  ก็จะทำให้การสื่อสารนั้นกระท่อนกระแท่น  ไม่มีแก่นสาร  เช่น  ถ้าจะบอกกล่าวหรือชี้ชวนก็ไม่มีจุดหมายชัดเจนว่าจะบอกกล่าวอะไร  หรือชี้ชวนเรื่องอะไร  แม้เพียงจะตั้งคำถามก็ไม่รู้ว่าจะตั้งอะไร  ถึงจะตั้งไปก็มักจะไม่เข้าประเด็น  เป็นที่น่ารำคาญแก่ผู้ถูกถาม ถ้าผู้ส่งสารขาดความสนใจในเนื้อเรื่อง  หรือในประเด็นของเรื่องที่สื่อสาร  และขาดความสนใจในตัวผู้รับสาร   สารที่ส่งออกไปก็จะไม่น่าสนใจ  และไม่สู้จะมีความหมายแก่ผู้รับสารนัก   
        ๒. สาร   อาจเป็นอุปสรรคในการสื่อสารได้  ถ้าซับซ้อนเกินไป  หรือลึกซึ้งจนเกินกำลังสติปัญญาของผู้รับสาร  หรือห่างไกลจากประสบการณ์ของผู้รับสารมากเกินไปหรือมีความขัดแย้งกันในตัวสารนั้นเอง  ผู้รับสารก็จะเกิดความสับสน  ในที่สุดก็ล้มเลิกความตั้งใจที่จะรับสาร  นอกจากนี้ถ้าตัวสารมีเนื้อความที่ผู้รับได้ยินบ่อยๆ ซ้ำๆ ผู้ส่งสารพูดประโยคเยิ่นเย้อหรือเนื้อความแปลกใหม่เกินความนึกคิดของผู้รับสาร  สารนั้นเองก็จะกลายเป็นอุปสรรคของการสื่อสาร  เพราะผู้รับสารไม่สนใจหรืองุนงงสงสัยในความแปลกใหม่ดังกล่าว
        ๓. ภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร  ภาษาที่ใช้ในการสื่อสารนั้น  ถ้าผู้รับสารไม่สามารถเข้าใจได้หรือเข้าใจเพียงเลือนราง  หรือเป็นภาษาที่ผิดระดับหรือเป็นสำนวนภาษาที่ไม่ตรงตามเนื้อหาของเรื่องราวที่จะส่งสาร  ภาษที่ใช้นั้นก็จะกลายเป็นอุปสรรคในการสื่อสารได้มาก
        ๔. ผู้รับสาร  ในทำนองเดียวกันกับผู้ส่งสาร ถ้าผู้รับสารขาดพื้นฐานความรู้และประสบการณ์ที่จำเป็นเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านหรือฟัง  ย่อมไม่สามารถเข้าใจสารที่ส่งมาได้  หรือหากจะเข้าใจก็เข้าใจเพียงครึ่งๆ กลางๆ เท่านั้น  ไม่สามารถรับสารโดยสมบูรณ์ได้  ยิ่งถ้าผู้รับสารอยู่ในฐานะที่จะเป็นผู้ตอบคำถาม  แต่ขาดความรู้หรือประสบการณ์  ย่อมตอบไม่ได้เอาเลย  การสื่อสารจึงเกือบจะเกิดขึ้นไม่ได้ การขาดความสนใจและการมีความรู้สึกไม่ดีของผู้รับสาร  ก็จะเป็นอุปสรรคสำคัญแก่การรับสารเช่นเดียวกัน  ความจริงข้อนี้ย่อมเห็นได้ชัดเจนอยู่แล้ว  เพราะถ้าไม่สนใจและมีความรู้สึกที่ไม่ดี  ย่อมไม่มีความพร้อมจะรับสาร  
         ๕. สื่อ   ถ้าสื่อในการนำสารขัดข้อง  เช่น  พูดกันในสถานที่ที่มีเสียงอื้ออึงรบกวน  พูดผ่านเครื่องขยายเสียงที่ปรับไม่พอเหมาะ  พูดผ่านเครื่องโทรศัพท์ที่มีความขัดข้องทางเทคนิคหรือเขียนตัวหนังสือหวัดมาก  ใช้ตัวพิมพ์ที่เลอะเลือนก็ย่อมทำให้ผู้รับสารได้ไม่สะดวกหรืออาจรับไม่ได้เลย ทั้งๆที่ผู้ส่งสารได้เตรียมสารไว้เป็นอย่างดีและผู้รับสารก็พร้อมที่จะรับสาร
          ๖. กาลเทศะและสภาวะแวดล้อม   เวลา  สถานที่  และสภาพแวดล้อม  ที่เหมาะสมย่อมให้เกิดการสื่อสารที่ดี  ตรงกันข้ามเวลา  สถานที่  และสภาพแวดล้อม  ที่ไม่เหมาะสมก็อาจเป็นอุปสรรคแก่การสื่อสาร การสื่อสารในชีวิตและในสังคมนั้นในหลานกรณีหลายโอกาส  เรื่องที่สื่อสารมีความสลับซับซ้อน  มีบุคคลจำนวนมากเข้ามาเกี่ยวข้อง  และอาศัยสื่อนานาชนิด  โอกาสที่จะเกิดอุปสรรคในการสื่อสารก็ยิ่งมีมากขึ้น  ไม่สามารถขจัดออกไปอย่างสิ้นเชิงได้


8. บทเรียน e-Learning เป็นส่วนใดขององค์ประกอบของการสื่อสาร
ตอบ     จัดอยู่ในองค์ประกอบที่เรียกว่า “สื่อหรือช่องทาง” (Media or Channel) เพราะ E-Learning เป็นตัวกลางระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร ทำให้หน้าที่เชื่อมผู้ส่งสารและผู้รับสาร


9. ครูบอยกำลังสอนเนื้อหาวิชาภาษาอังกฤษเรื่อง Grammar ด้วยวีดิทัศน์กับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 จากข้อความดังกล่าวให้นิสิตเขียนแบบจำลองการสื่อสารของเดวิดเบอร์โล


ตอบ 

ผู้ส่งสาร(source)

- ครูบอย
 

สาร(Message)

- ความรู้เกี่ยวกับ Grammar
 

สื่อและช่องทาง(Channel)
- วิดีทัศน์
 

ผู้รับสาร(Receiver)

- นักเรียนชั้น   มัธยมศึกษาปีที่ 1
 












10. การปฐมนิเทศนิสิตใหม่ ณ หอประชุมธำรงบัวศรี เป็นการสื่อสารประเภทใด
ตอบ     การปฐมนิเทศนิสิตใหม่จัดเป็นการสื่อสารกลุ่มใหญ่ (large group communication)